ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมเราต้องถูกหัก วันนี้น้องไข่ต้มมีคำตอบ

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมเราต้องถูกหัก วันนี้น้องไข่ต้มมีคำตอบ

โพสต์เมื่อ : 1 มีนาคม 2566
1192

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือภาษีชนิดที่จะมีการหักทุกครั้งที่เกิดการจ่ายเงินตามเงื่อนไขที่ภาษีครอบคลุม โดยผู้ที่เป็นฝ่ายจ่ายเงินจะต้องหักจากจำนวนเงินที่จะจ่ายให้ผู้รับเงิน และเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ

ฝ่ายผู้รับ ก็ได้เงินแบบไม่เต็มจำนวน พร้อมกับเอกสาร “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันเวลาทำเรื่องลดหย่อนภาษี กรมสรรพากรระบุไว้ว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีไว้เพื่อลดภาระผู้เสียภาษี จะได้ไม่ต้องเสียภาษีทีเดียวเยอะๆ ตอนท้ายปี

มีรายได้รวมเท่าไร ถึงต้องยื่นภาษี

  • คนโสดมีรายได้เกิน 60,000 บาท/ปี
  • คนที่มีคู่สมรส มีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท/ปี

วิธีคำนวณ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

  • วิธีแรก : รายได้สุทธิ (รายได้ทั้งปีหลังหักค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี
  • วิธีที่สอง : กรณีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีรายได้มากกว่า 120,000 บาท/ปี (ไม่รวมเงินเดือน) สามารถใช้สูตรคำนวณ รายได้สุทธิ x 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า (หากไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามการคำนวณปกติ)

ต้องยื่นภาษีตอนไหนบ้าง

  • รอบแรก: ยื่นภาษีกลางปี ยื่นช่วงเดือนก.ค.- ก.ย. ของปีนั้นๆ (แบบ ภ.ง.ด. 94) เป็นการยื่นสรุปรายได้ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) โดยรอบนี้จะสามารถใช้ค่าลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่ง เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาทจะเหลือ 30,000 บาท
  • รอบสอง: ยื่นภาษีสิ้นปี กำหนดยื่นช่วงเดือน ม.ค.- มี.ค. ของปีถัดไป (แบบ ภ.ง.ด. 90) จะเป็นการยื่นสรุปทั้งปีที่ผ่านมา โดยนำเงินได้ทุกประเภทตั้งแต่เดือนม.ค.- ธ.ค. ของปีนั้น รวมคำนวณและนำภาษีที่ชำระไปแล้วตาม ภ.ง.ด. 94 มาเป็นเครดิตภาษีหักลบได้

สามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2566 ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรุงเทพธุรกิจ